ข้อบังคับ สโมสรลูกเสือ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
พุทธศักราชการ ๒๕๖๐
หมวดที่ ๑
ความทั่วไป
ข้อ ๑. สโมสรนี้มีชื่อว่า “ สโมสรลูกเสือ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ”
คำย่อ สโมสรลูกเสือ วปอ. เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า “NDC SCOUT CLUB”
ข้อ ๒. ที่ตั้งสำนักงานของสโมสรลูกเสือ วปอ. ตั้งอยู่ที่
เลขที่ ๖๔ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐
ข้อ ๓. เครื่องหมายของ สโมสรลูกเสือ วปอ. คือ
ลักษณะที่เป็นสากล คือ รูปเฟลอร์เดอลีส์ หรือ Fleur - de - lis เรียกตามศัพท์ฝรั่งเศส เป็นชื่อดอกไม้ชนิด
หนึ่งที่นิยมใช้บูชาพระ (มีลักษณะคล้ายดอกซ่อนกลิ่น)
รูปดาว ๕ แฉก ๒ ดวง รวม ๑๐ แฉกอยู่ที่กลีบซ้าย และขวาของ Fleur - de - lis นั้น หมายถึง คุณธรรม
๑๐ ประการ ของลูกเสือ
ดวงดาวซ้าย คือ คุณธรรม ข้อที่ ๑ - ๕ ซึ่งลูกเสือพึงปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยดี คือ
๑. ลูกเสือต้องมีเกียรติเชื่อถือได้
๒. ลูกเสือต้องมีใจจงรักภักดี
๓. ลูกเสือต้องเป็นมิตรกับบุคคลทั่วไป
๔. ลูกเสือต้องมีสัมมาคารวะ
๕. ลูกเสือต้องบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น
ดวงดาวทางขวา คือ คุณธรรมข้อที่ ๖ - ๑๐ ซึ่งว่าด้วยกฎข้อบังคับ โดยตรง คือ
๖. ลูกเสือต้องมีใจเมตตากรุณาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
๗. ลูกเสือต้องเชื่อฟังคำสั่งสอน
๘. ลูกเสือต้องมีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสเบิกบาน แม้ในยามลำบาก หรือเผชิญอันตราย
๙. ลูกเสือต้องมีมัธยัสถ์
๑๐. ลูกเสือต้องมีกาย วาจา ใจสะอาดบริสุทธิ์
สัญญาลักษณ์หน่วย
สัญญาลักษณ์ของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เป็นรูปเข็ม “ รัฏฐาภิรักษ์ ”
แพรแถบ คติพจน์ของลูกเสือทั่วไป มีข้อความว่า “ เสียชีพอย่าเสียสัตย์ ”
ตามรูปที่ปรากฏด้านล่างนี้
ข้อ ๔. ในข้อบังคับนี้ คำว่า
“ สโมสรลูกเสือ” หมายถึง การรวมตัวของบุคคลที่เป็นลูกเสือที่สำเร็จการศึกษา โดยวิทยาลัยป้องกันราช
อาณาจักร และหลักสูตรในสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ เพื่อกระทำกิจการลูกเสือ
“ สมาชิก” หมายถึง ผู้ที่มีสถานภาพเป็นสมาชิกของสโมสรลูกเสือ วปอ.
คำว่า สโมสรลูกเสือ หมายถึง สโมสรลูกเสือวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สมาคมวิทยาลัยป้องกันราช
อาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ คำย่อ สโมสรลูกเสือ วปอ.
หมวดที่ ๒
วัตถุประสงค์
ข้อ ๕. วัตถุประสงค์ของสโมสรลูกเสือนี้ เพื่อ
๕.๑ เทิดทูนสถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
๕.๒ ให้ความช่วยเหลือ ส่งเสริม และสนับสนุนกระบวนการลูกเสือ และกิจการของคณะลูกเสือแห่งชาติ
๕.๓ ดำเนินการจัดกิจการฝึกอบรมลูกเสือในระดับต่าง ๆ ของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรและ สถาบัน
วิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย
๕.๔ ส่งเสริมให้สมาชิกเกิดความรัก ความสามัคคี และคุณธรรมอันดี อันจะนำไปสู่ความมั่นคงของชาติ ตาม
คำปฏิญาณ และกฎของลูกเสือ และนำไปเผยแพร่ในสังคมต่อไป
๕.๕ ส่งเสริมความสัมพันธ์กับสถาบัน องค์กรลูกเสืออื่น ๆ และ คณะลูกเสือนานาชาติในกิจกรรมสาธารณะ
ประโยชน์
๕.๖ ต้องไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง ไม่เป็นอันตรายต่อความมั่นคงของประเทศชาติ ไม่ขัดต่อความสงบ
เรียบร้อย และศีลธรรมอันดีของประชาชน
หมวดที่ ๓
สมาชิก และ กรรมการบริหารลูกเสือ
ข้อ ๖. สมาชิกของสโมสรลูกเสือมี ๓ ประเภท
๖.๑ สมาชิกสามัญ
๖.๒ สมาชิกวิสามัญ
๖.๓ สมาชิกกิตติมศักดิ์
ข้อ ๗. สมาชิกสามัญ ได้แก่ บุคคลที่ผ่านการฝึกอบรมลูกเสือ วปอ. และนักศึกษาในหลักสูตรของ วปอ. และ
สปท. ที่มีคุณวุฒิทางลูกเสือ
ข้อ ๘. สมาชิกวิสามัญ ได้แก่ ผู้ที่ผ่านการอบรมลูกเสือ โดยสโมสรลูกเสือ วปอ. และมีความประพฤติเรียบร้อย
ข้อ ๙. สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ บุคคลผู้ทรงเกียรติ หรือผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้ที่มีอุปการะคุณแก่สโมสรลูกเสือ ซึ่งคณะกรรมการลงมติให้เชิญเข้าเป็นสมาชิกของสโมสร
ข้อ ๑๐. กรรมการบริหารของสโมสรลูกเสือ ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
๑๐.๑ เป็นสมาชิกสามัญ
๑๐.๒ ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย คนวิกลจริต คนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
ข้อ ๑๑. ค่าสมัครเป็นสมาชิกสโมสรลูกเสือ
๑๑.๑ สมาชิกสามัญ ๑,๐๐๐.-บาท ตลอดชีพ
๑๑.๒ สมาชิกวิสามัญ ๑๐๐.- บาท ตลอดชีพ
๑๑.๓ สมาชิกกิตติมศักดิ์ไม่เสียค่าสมาชิก
ข้อ ๑๒. จริยธรรมของสมาชิกสโมสรลูกเสือ
๑๒.๑ จักต้อง จงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
๑๒.๒ จักต้อง เคร่งครัดต่อการปฏิบัติตนตาม คำปฏิญาณ และกฎของลูกเสือ
๑๒.๓ จักต้อง เป็นแบบอย่างที่ดีในการรักษาไว้ ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีลูกเสือ
๑๒.๔ จักต้อง มีอุดมการณ์ในการทำงานเพื่อประเทศชาติ ชุมชน และช่วยเหลือผู้อื่นอย่างเต็มความ
สามารถ ด้วยความรับผิดชอบ เสียสละ ซื่อสัตย์สุจริต เพื่อช่วยเหลือผู้อื่น ชุมชน และประเทศชาติ
๑๒.๕ จักต้อง ร่วมกิจกรรมของลูกเสืออย่างสม่ำเสมอ โดยถือเป็นหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติอย่างไม่ควรหลีก
เลี่ยง เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัย
ข้อ ๑๓. สมาชิกสภาพสิ้นสุด เมื่อ
๑๓.๑ ตาย
๑๓.๒ ลาออก
๑๓.๓ ตามมติคณะกรรมการบริหารสโมสรลูกเสือ สองในสามขึ้นไป ให้พ้นจากสมาชิกภาพ
หมวดที่ ๔
การดำเนินงานสโมสรลูกเสือ
ข้อ ๑๔. คณะกรรมการบริหารสโมสรลูกเสือ เป็นตัวแทนของสมาชิกสโมสรลูกเสือ และเป็นผู้ดำเนินงาน
๑๔.๑ บริหารกิจการของสโมสรลูกเสือให้มีความเจริญก้าวหน้า สามารถจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาลูกเสือทั้ง
ทางร่างกาย สติปัญญา สังคม จิตใจ และศีลธรรมให้เป็นพลเมืองดีตามกฎ และคำปฏิญาณของลูก
เสือ และนโยบายของคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ
๑๔.๒ จัดหาสมาชิกเพิ่ม กำหนดวิธีการรับสมาชิก การขาดสมาชิกภาพ และการจัดทำ ทะเบียนสมาชิก
๑๔.๓ จัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับธรรมเนียมของลูกเสือ โดยเฉพาะวันสำคัญของคณะลูกเสือแห่งชาติ
เช่น วันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ และวันคล้ายวันสวรรคตของพระผู้พระราชทานกำเนิดลูกเสือ
แห่งชาติ
๑๔.๔ จัดให้มีการประชุมสมาชิกอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง และจัดทำรายงานการประชุม รวมทั้งกิจกรรมที่ได้
จัดขึ้นในแต่ละปี รายงานต่อ คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ
๑๔.๕ จัดทำข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดการสโมสร การบัญชี และทรัพย์สินของสโมสร
ข้อ ๑๕. ให้ดำเนินการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสโมสรลูกเสือ โดยให้ถือเสียงข้างมากของสมาชิกสามัญ
ที่มาร่วมประชุม แล้วส่งรายงานการประชุมต่อ เลขาธิการคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ
ข้อ ๑๖. คณะกรรมการบริหารสโมสรลูกเสือ ทำหน้าที่บริหารงานของสโมสร มีจำนวนอย่างน้อย ๗ คน และไม่เกิน
๓๕ คน มีวาระการดำรงคราวละไม่เกิน ๒ ปี นายกสโมสรลูกเสือจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันได้ไม่เกิน ๓
วาระ
ข้อ ๑๗. คณะกรรมการบริหารสโมสรลูกเสือ มีตำแหน่งหน้าที่โดยสังเขป ดังต่อไปนี้
๑๗.๑ นายกสโมสร ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าในการบริหารกิจการของสโมสร เป็นตัวแทนของสโมสร ใน
การติดต่อกับบุคคลภายนอก และทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมต่าง ๆ ของสโมสร รวมทั้งเป็นผู้
ควบคุมการปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ นโยบาย และระเบียบข้อบังคับของสโมสร
๑๗.๒ อุปนายก ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยนายกสโมสรในการบริหารงานของสโมสร ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ นายก
สโมสรมอบหมาย และทำหน้าที่แทนเมื่อนายกสโมสรไม่อยู่ หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
๑๗.๓ เลขาธิการ ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการของสโมสรทั้งหมด เป็นผู้บังคับบัญชา เจ้าหน้าที่ของ
สโมสรในการปฏิบัติกิจการของสโมสร และปฏิบัติตามคำสั่งของนายกสโมสร ตลอดจนทำ
หน้าที่เป็นเลขานุการในการประชุมต่าง ๆ ของสโมสร
๑๗.๔ นายทะเบียน ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานทะเบียนสมาชิก ให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของสโมสร และ
กฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
๑๗.๕ เหรัญญิก ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน การบัญชี บัญชีทรัพย์สินของสโมสร จัดทำบัญชีรายรับ - ราย
จ่าย บัญชีงบดุลของสโมสร และเก็บเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อการตรวจสอบ
๑๗.๖ ปฏิคม ทำหน้าที่เกี่ยวกับการต้อนรับแขกของสโมสร เป็นหัวหน้าในการจัดเตรียมสถานที่ต่าง ๆ และ
เตรียมสถานที่ประชุมของสโมสร
๑๗.๗ ประชาสัมพันธ์ ทำหน้าที่เผยแพร่การดำเนินกิจกรรม และชื่อเสียงเกียรติคุณของสโมสรแก่สมาชิก
และบุคคลโดยทั่วไปให้เป็นที่แพร่หลาย
๑๗.๘ กรรมการกลาง ทำหน้าที่โดยปฏิบัติงานตามมติของที่ประชุมสโมสร ตำแหน่งนอกเหนือจากนี้ อาจ
กำหนดเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น และความเหมาะสมของสโมสรลูกเสือ
ข้อ ๑๘. วิธีเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสโมสร ให้ปฏิบัติดังนี้
๑๘.๑ ให้คณะกรรมการบริหารสโมสรชุดที่ดำรงตำแหน่งอยู่ เป็นผู้ดำเนินการเลือกตั้งนายกสโมสร โดยให้
ถือเสียงข้างมากของสมาชิกสามัญที่มาร่วมประชุม ตามหลักการในข้อ ๑๕
๑๘.๒ ให้นายกสโมสรเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารสโมสร และกรรมการอื่น ๆ
ตามจำนวนที่เห็นสมควรในข้อบังคับ รวมทั้งแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาและคณะอนุกรรมการได้ตาม
ความเหมาะสม
๑๘.๓ กรรมการบริหารสโมสรที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระ อาจได้รับเลือกเข้าเป็นกรรมการบริหารสโมสร
ได้อีก
๑๘.๔ ถ้าตำแหน่งกรรมการบริหารสโมสรว่างลง ให้คณะกรรมการบริหารสโมสรที่เหลืออยู่ พิจารณาตั้ง
บุคคลอื่นเป็นกรรมการบริหารสโมสรแทนตำแหน่งที่ว่าง หรืออาจปล่อยให้ตำแหน่งกรรมการ
บริหารสโมสรที่ว่างคงสภาพอยู่อย่างนั้น กรรมการบริหารสโมสรผู้ได้รับการเลือกตั้งซ่อม
อยู่ในตำแหน่งเท่าวาระของผู้ที่ตนแทน
๑๘.๕ ในกรณีที่กรรมการบริหาร พ้นจากตำแหน่งเพราะถึงคราวออกตามวาระให้กรรมการบริหารสโมสร
ที่พ้นจากตำแหน่งเพราะถึงคราวออกตามวาระ ปฏิบัติหน้าที่กรรมการบริหารสโมสรต่อไปจนกว่า
สโมสรลูกเสือจะได้รับแจ้งการจดทะเบียนกรรมการบริหารสโมสรที่ตั้งใหม่
ข้อ ๑๙. กรรมการบริหารสโมสรลูกเสือ พ้นจากตำแหน่งเมื่อ
๑๙.๑ ครบวาระตามข้อ ๑๖
๑๙.๒ ตาย
๑๙.๓ ลาออก
๑๙.๔ มีความประพฤติเสื่อมเสีย และคณะกรรมการบริหารสโมสรลูกเสือมีมติให้พ้นจากตำแหน่ง โดยมี
คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของคณะกรรมการบริหารสโมสรลูกเสือ
๑๙.๕ ขาดคุณสมบัติตามข้อ ๑๐
หมวดที่ ๕
การประชุมคณะกรรมการบริหารสโมสร
ข้อ ๒๐. คณะกรรมการบริหารสโมสร ต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี
ภายในเดือนมีนาคมและต้องมี
ข้อ ๒๑. การประชุมวิสามัญ อาจมีได้เมื่อนายกสโมสร หรือคณะกรรมการเห็นควรจัดให้มีขึ้น ด้วยการเข้าชื่อร่วม
กันของสมาชิกสามัญจำนวน ๒ ใน ๕ ของสมาชิกสามัญทั้งหมดหรือสมาชิกไม่น้อยกว่า ๒๐๐ คน แสดง
ความประสงค์ไปยังนายกสโมสรหรือผู้ทำการแทน ขอให้มีการประชุมวิสามัญได้ ซึ่งการนี้จะต้องจัดให้มี
การประชุมใหญ่วิสามัญขึ้นภายใน ๓๐ วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือร้องขอ
ข้อ ๒๒. การแจ้งกำหนดนัดประชุมใหญ่ ให้เลขาธิการเป็นผู้แจ้งกำหนดนัดประชุมใหญ่ให้สมาชิกได้ทราบ และการ
แจ้งจะต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร โดยระบุวัน เวลา และสถานที่ ให้ชัดเจน โดยจะต้องแจ้งให้สมาชิก
ได้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน ก่อนถึงกำหนดการประชุม
ข้อ ๒๓. การประชุมใหญ่สามัญประจำปี จะต้องมีวาระประชุมอย่างน้อยดังต่อไปนี้
๒๓.๑ แถลงกิจการที่ผ่านมาในรอบปี
๒๓.๒ แถลงบัญชีรายรับ รายจ่าย และบัญชีงบดุลของปี ที่ผ่านมาให้สมาชิกรับทราบ
๒๓.๓ เลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ เมื่อครบกำหนดวาระ
๒๓.๔ เลือกตั้งผู้สอบบัญชี
๒๓.๕ เรื่องอื่น ๆ ถ้ามี
ข้อ ๒๔. ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี หรือการประชุมใหญ่วิสามัญ จะต้องมีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุม
อย่างน้อย ๓๐ คนของจำนวนสมาชิกสามัญทั้งหมด จึงจะถือว่าครบองค์ประชุม แต่ถ้าเมื่อถึงกำหนด
เวลา การประชุมยังมีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมไม่ครบองค์ประชุม ก็ให้ขยายเวลาออกไปอีก ๒
ชั่วโมง แต่เมื่อครบกำหนดเวลาที่ขยายออกไปแล้ว ยังมีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมไม่ครบจำนวนก็ให้
ถือว่าครบองค์ประชุม ยกเว้นถ้าเป็นการประชุมใหญ่วิสามัญ ที่เกิดขึ้นจากการร้องขอของสมาชิก ก็ไม่ ต้องจัดประชุมวิสามัญ ให้ถือว่าการประชุมเป็นการยกเลิก
ข้อ ๒๕. การลงมติต่าง ๆ ในที่ประชุมใหญ่ ถ้าข้อบังคับมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้ถือคะแนนเสียงข้างมากเป็น
เกณฑ์ แต่ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในการประชุมเป็นผู้ชี้ขาด
ข้อ ๒๖. ในการประชุมใหญ่ของสโมสร ถ้านายกสโมสร และอุปนายกสโมสรไม่มาร่วมที่ประชุม หรือไม่สามารถ
ปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมใหญ่ทำการเลือกตั้งกรรมการที่มาร่วมประชุมคนใดคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นฅ ประธานฯในการประชุมคราวนั้น
หมวดที่ ๗
การเงิน
ข้อ ๒๗. สโมสรลูกเสือ อาจมีรายได้ดังต่อไปนี้
๒๗.๑ เงินค่าสมัครเป็นสมาชิกสโมสรลูกเสือ
๒๗.๒ เงินค่าบำรุงตามที่สโมสรลูกเสือกำหนด
๒๗.๓ เงินและทรัพย์สินซึ่งมีผู้อุทิศให้สโมสรลูกเสือ โดยปราศจากภาระผูกพัน
๒๗.๔ เงินรายได้อื่น ซึ่งไม่ขัดต่อวัตถุประสงค์ของคณะลูกเสือแห่งชาติ
๒๗.๕ รายได้จากการดำเนินกิจกรรมที่เหมาะสมกับกิจการลูกเสือ
๒๗.๖ เงินอุดหนุนจากหน่วยงานของรัฐองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และงบประมาณแผ่นดิน
๒๗.๗ ดอกผลจากทรัพย์สินที่มีอุทิศให้สโมสรลูกเสือ
ข้อ ๒๘. การเงินและทรัพย์สินทั้งหมดให้อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการ เงินสดสโมสร ถ้ามีให้นำฝาก
ไว้ในธนาคารของรัฐที่กรรมการบริหารกำหนด
ข้อ ๒๙. การลงนามในตั๋วเงินหรือเช็คของสโมสร จะต้องมีลายมือชื่อของนายกสโมสรร่วมกับเหรัญญิก จึงจะ
ถือว่าใช้ได้ ถ้าหากนายกสโมสรไม่สามารถทำหน้าที่ได้ มอบให้ผู้ทำการแทนลงนามร่วมกับเหรัญญิกก็ได้
ข้อ ๓๐. ให้นายกสโมสรมีอำนาจสิ่งจ่ายเงินของสโมสรได้ครั้งละไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐.-บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) ถ้า
เกินกว่านี้จะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารเสียงเกินกึ่งหนึ่ง
ข้อ ๓๑. ให้เหรัญญิก มีอำนาจเก็บรักษาเงินสดของสโมสรได้ไม่เกิน ๕๐,๐๐๐.- บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) ถ้าเกินกว่า
จำนวนนี้ จะต้องนำฝากธนาคารในบัญชีของสโมสรทันทีที่โอกาสอำนวยให้
ข้อ ๓๒. เหรัญญิก จะต้องทำบัญชีรายรับ รายจ่าย และบัญชีงบดุล ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ การรับหรือการ
จ่ายทุกครั้ง จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของนายกสโมสร หรือผู้ทำการแทน
ข้อ ๓๓. ผู้ตรวจสอบบัญชี ต้องมาจากสำนักงานตรวจสอบบัญชีที่ได้รับใบอนุญาต
ข้อ ๓๔. ผู้ตรวจสอบบัญชี มีอำนาจหน้าที่จะเรียกเอกสารที่เกี่ยวกับการเงิน และทรัพย์สินจากคณะกรรมการ และ
สามารถจะเชิญกรรมการ หรือเจ้าหน้าที่ของสโมสรเพื่อสอบถาม เกี่ยวกับบัญชีและทรัพย์สินของสโมสร ได้
ข้อ ๓๕. คณะกรรมการจะต้องให้ความร่วมมือกับผู้สอบบัญชี เมื่อได้รับการร้องขอ
หมวดที่ ๗
เบ็ดเตล็ด
ข้อ ๓๖. นายกสโมสรลูกเสือ โดยคำแนะนำและยินยอมของคณะกรรมการบริหารมีสิทธิ์ออกกฎ ระเบียบได้ แต่
ต้องไม่ขัดต่อข้อบังคับนี้ และต้องให้ที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปีให้ความเห็นชอบ
ข้อ ๓๗. ปัญหาใด ๆ อันเกิดขึ้นก็ดี การตีความข้อบังคับและระเบียบต่าง ๆ ก็ดีให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการ
บริหารสโมสร
ข้อ ๓๘. ข้อบังคับของสโมสรจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้โดยมติของที่ประชุมใหญ่เท่านั้น และองค์ประชุมใหญ่จะต้องมี
สมาชิกสามัญเข้าร่วมไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๓ ของสมาชิกสามัญทั้งหมดมติของที่ประชุมใหญ่ในการ
เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับ จะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓ ของสมาชิกสามัญที่เข้าร่วมประชุม
ทั้งหมด
ข้อ ๓๙. ข้อระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ ของสโมสรที่จัดทำขึ้นต้องไม่ขัดต่อข้อบังคับสโมสร และจะต้องได้รับความเห็น ชอบจากคณะกรรมการบริหารสโมสร ไม่น้อยกว่า ๓ ใน ๔ ของคณะกรรมการสโมสร ทั้งหมด
หมวดที่ ๘
การสิ้นสุดของสโมสรลูกเสือ
ข้อ ๔๐. ให้สโมสรลูกเสือ สิ้นสุดลงด้วยเหตุดังต่อไปนี้
๔๐.๑ เมื่อสมาชิกมีมติด้วยคะแนนเสียง สองในสามของสมาชิกสามัญให้เลิกกิจการของสโมสรลูกเสือ
๔๐.๒ เมื่อปรากฏว่าการดำเนินกิจการของสโมสรลูกเสือขัดต่อวัตถุประสงค์ และอุดมการณ์ของลูกเสือ
หรือกฎหมาย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรืออาจเป็นอันตรายต่อความสงบสุขของประชาชน
หรือความมั่นคงของรัฐ
๔๐.๓ เมื่อสโมสรลูกเสือไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ โดยมติเสียงข้างมากที่ประชุมของ
คณะกรรมการ มีอำนาจสั่งให้สโมสรลูกเสือสิ้นสุดลง ให้รายงานเลขาธิการคณะกรรมการลูกเสือ
แห่งชาติ ประกาศสิ้นสุดของสโมสรลูกเสือ
ข้อ ๔๑. เมื่อสโมสรลูกเสือสิ้นสุดการดำเนินกิจการ ให้เงินและทรัพย์สินทั้งหมดตกเป็นของสำนักงานคณะ
กรรมการลูกเสือแห่งชาติ
ข้อ ๔๒. ให้นายกสโมสรลูกเสือ ที่สิ้นสุดการดำเนินกิจการการทำหน้าที่ตรวจสอบทรัพย์สินของสโมสรลูกเสือที่สิ้น
สุดการดำเนินกิจการ ตามข้อ ๔๑ แล้วนำส่งมอบให้แก่ สำนักงานคณะกรรมการลูกเสือแห่งชาติภายใน
๖๐ วัน นับตั้งแต่วันเลิกกิจการ
-------------------------------------